



 |
ไกร
(ชนิดที่ 2)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Ficus
superba (Miq.) Miq.var superba
วงศ์ :
MORACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ไทรเลียบ (ประจวบคีรีขันธ์) โพ ไทร (นครราชสีมา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ต้นสูง
8-10 เมตร ผลัดใบ มียางสีขาว
เปลือกสีเทา ทุกๆ ส่วนเกลี้ยงยกเว้นหูใบ ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน
หรือรูไข่กลับ กว้าง 5-13 ซม. ยาว 12-25 ซม.
ปลายแหลมติ่งหรือเรียวแหลม โคนแหลม
ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น
ปลายโค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ แผ่นใบค่อนข้างบาง
ก้านใบยาว 8-14 ซม. หูใบ 2 อัน ประกอบกันหุ้มยอดอ่อน
รูปไข่ปลายแหลม ยาว 1-1.5 ซม. มีขนสั้นๆ สีเหลืองอ่อน
ร่วงง่าย ช่อดอกและผลแบบเดียวกับชนิดแรก
ออกเป็นคู่ตรงง่ามใบหรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งใบร่วงไปแล้ว
เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนๆ สั้นๆ เมื่อแก่เกลี้ยง
มีใบประดับซึ่งร่วงง่าย 3 ใบ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อยมาก
อยู่ใกล้ๆ รูเปิดของช่อดอก ก้านดอกเล็ก กลีบรวม 3 กลีบ
รูปไข่ สั้นกว่าเกสรเพศผู้ ก้านเกสรเพศผู้หนา
ดอกเพศเมียมีจำนวนมาก มีกลีบรวมสั้นๆ 3 กลีบ
รูปไข่กลับ เกสรเพศเมียยาว อยู่ทางด้านข้างของรังไข่
ผลแบบมะเดื่อ สีขาวอมชมพู รูปกลมแกมรูปไข่กลับ กว้าง
1.8-2.5 ซม. ภายในมีผลเล็กๆ รูปไข่กลับ จำนวนมาก
ก้านผลยาว 0.7-1.5 ซม.
ไกรชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค
ขึ้นบนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูงประมาณ
150 เมตร
ในต่างประเทศพบที่ภูมิภาคอินโดจีนและภูมิภาคมาเลเซีย
ออกดอกและเป็นผลระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน
ประโยชน์ :
นิยมปลูกเป็นไม้แคระประดับ
ที่มาของข้อมูล:
เรียบเรียงโดย รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา
หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก.
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,2538
.........................................................................................................
ไกร
(ชนิดที่ 2) Fiscus
concinna Miq.
|
|