หน้า  1   2   3   4

HOME

 
 


ทะ  เป็นพืชอยู่ในวงศ์  MYRTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Hassk.
ชื่อพ้อง Rhodomyrtus tomentosa (Ait.) Wight, R.paviflora Alston
ถิ่นกำเนิด : Tropical Asia
ชื่อพื้นเมือง:อังกฤษ  Downy myrtle, Rose myrtle, Hill goosbery
                :
อินโดเนเซีย Kemunting, Harendong sabrang
                :
มาเลเซีย Kemunting karammunting
                :
กัมพูชา  Puech sragan
                :เวียตนาม  sim
             
   ส่วนประเทศไทย เรียก โทะ (ทางภาคใต้) พรวด(ตราด) พรวดกินลูก (ปราจีนบุรี)
          โทะ เป็นไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและทำการเพาะปลูกได้ มีแหล่งกำเนิดแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ อยู่ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในอินเดีย ศรีลังกา และทางตอนใต้ของจีน จะพบน้อยมากนอกเขพพื้นที่เหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตคือ โทะ จะขึ้นในเขตภูมิประเทศที่ติดทะเล เขตภูมิอากาศตั้งแต่โซนร้อน (Tropic) ไปจนถึงแบบกึ่งโซนร้อน (Subtropic)
 

          ผล นอกจากจะใช้รับประทานได้แล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ในมาเลเซีย ใช้รักษาโรคบิดและโรคท้องร่วง ในอินโดเนเซีย ใช้รากและใบต้มแก้ท้องร่วงและปวดท้องและใช้หลังสตรีคลอดบุตร
 

4
























































 

   

นับว่า "โทะ" เป็นไม้ป่าที่คุณค่าที่สมควรได้รับการพัฒนาเป็นอย่างยิ่ง  นอกจากมีคุณค่าทางอาหารแล้วยังมีสรรพคุณทางยาด้วย  การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและถาวรหากมีการศึกษา "โทะ" อย่างจริงจังนับตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานทางด้านพฤกษศาสตร์(botany) สรีระวิทยาพืช (Plant physiology) ภูมิชีววิทยา (biogeography)การพัฒนาขายพันธุ์เพื่อการผลิตอย่างจริงจัง การวิเคราะห์สารอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ และที่น่าพิจารณา

คือสกัดสารจากส่วนต่างๆ มาศึกษาทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นยาต่อไปในอนาคต
          ถึงเวลาแล้วที่จะต้องร่วมมือช่วยกันศึกษาอย่างเป็นระบบครบวงจร จะต้องรู้จริงให้ได้ทุกเรื่อง รู้แล้วจะต้องนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดประโยชน์นานาประการอย่างแท้จริง และต้องสร้างองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาของไทย  สร้างฐานข้อมูลองค์ความรู้จากปัญญาไทย เป็นสมบัติของคนไทย เพื่อประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติในที่สุด
          บทความนี้จะสมบูรณ์ไม่ได้หากไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารูปภาพส่วนหนึ่งจากหนังสือ 5 ปี สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนสตรีภูเก็ต ขอขอบคุณท่านผู้อำนวยการ โรงเรียนสตรีภูเก็ตเป็นอย่างสูงไว้ในโอกาสนี้  ขอขอบคุณ คุณพรชัย จุฑามาศ รองผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ คุณขจรศักดิ์ วรประทีป คุณปิยะพงศ์ ราชตา และเจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทุกท่านที่มีส่วนช่วยเหลืออำนวยความสะดวก อีกคนที่ทำให้บทความมีชีวิตชีวามากขึ้นคือ น.ส.โสมวดี วราอัศวปติ ที่เสียสละเวลาช่วยอ่านตรวจทานและแก้คำผิดให้ บทความนี้เกิดขึ้นได้เพราะ อาจารย์ทัศนีย์ อนมาน ที่ผู้เขียนรักยิ่งคนหนึ่งท่านชอบต้นโทะ เลยเขียนต้นโทะให้ท่าน
          ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่อ่านบทความนี้และจะเป็นความกรุณายิ่ง หากท่านจะช่วยชี้แนะและให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือมาร่วมกันศึกษาวิจัยโทะอย่างจริงจังครบวงจร.
ที่มา : ชีวปริทรรศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2544