พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 













 
 

หางอ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Uraria lagopodioides (L.) Desv. ex DC.
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น :  หญ้าหางอ้น (ลำพูน) ขางแมงโป้ง (เชียงใหม่) หางเสือน้อย (ชัยภูมิ) หนอนหน่าย (อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ) หางกระรอก (กาญจนบุรี) แลแง่ (ยะลา)
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นกึ่งตั้งสูง 16.7-40.9 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2.4-6.5 มิลลิเมตร ใบประกอบมีใบย่อย 1 ใบ และ 3 ใบ เรียงสลับมีรูปร่างใบย่อยแตกต่างกันตั้งแต่ รูปทรงกลม (globose) รูปไข่ (ovate)รูปรี (elliptic) หน้าใบมีขนสั้นๆตามขอบใบน้อยมาก หลังใบมีขนสั้นจำนวนมาก แผ่นใบหยาบ ขอบใบเรียบ ช่อดอกกระจะ ดอกย่อยเรียงอัดตัวเป็นกระจุกแน่น ออกดอกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ช่อดอกยาว 4-7 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนกลาง (standard) สีชมพูแกมม่วง กลีบดอกคู่ล่าง (keel) สีขาว มีใบประดับ (bract) ก้านดอกย่อยและกลีบเลี้ยงมีปุยขนสีขาวยาว 1 – 2 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น ผลเป็นฝักรูปขอบขนานสีดำมันไม่มีขน กว้าง 1.5 – 2.0 มิลลิเมตร ยาว 2.5 – 3.0 มิลลิเมตร มี 1 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลถึงน้ำตาลออกเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน

ประโยชน์ :  ภาคอีสานใช้ใบใส่ปลาร้าหนอนไม่ขึ้น สมุนไพร ยาพื้นบ้านอีสานใช้ราก ฝนน้ำปูนใสทาแก้ฝี สารสกัดแอลกอฮอล์จากทั้งต้นต้านเชื้อไวรัส และสารสกัดน้ำจากทั้งต้นมีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน เป็นพิษต่อตัวอ่อน กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์จากลำต้นและใบกด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในสัตว์ และในสตรี (จิรายุพิน และคณะ, 2542)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net