พืชมีพิษ


   กลับหน้าหลัก HOME

 









 
 

อีเหนียว

ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Desmodium gangeticum (L.) DC.
วงศ์ : Papilionoideae
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น :  อีเหนียว (ภาคกลาง) นางเหนียว หนาดออน (ภาคกลาง) หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ) หนูดพระผู้ (ตรัง) อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี) กระตืดแป (เลย) นอมะช่าย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)
ลักษณะ
เจริญเติบโตลำต้นตั้งตรง ถึงกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย สูง 30S-150 เซนติเมตร ลักษณะใบเป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ (ovate) ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2.3-5.8 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร หน้าใบมีขนน้อยมากถึงไม่มีขน หลังใบมีขนสั้นๆกระจายปานกลาง ขอบใบเรียบ (entire) ออกดอกที่ยอดและซอกใบ กลีบดอก กลีบกลาง (standard) และ กลีบคู่ข้าง (wing) มีสีชมพูอมม่วง กลีบดอกคู่ล่าง (keel) มีสีขาวปนม่วงอ่อนๆ อับเรณูสีเหลือง ส่วนเกสรเพศเมีย (stigma) สีเขียวอ่อน ช่อดอกยาว 14 - 22 เซนติเมตร ช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 28 - 42 ดอก ฝักมีขนสั้นกระจายปานกลาง มีลักษณะแบน คอดเป็นข้อ 2-8 ข้อ ออกดอกมากช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ประโยชน์ :  เป็นอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก เป็นยาขับปัสสาวะ ยาพื้นบ้าน ใช้ราก ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก ใบสดตำพอกแผลถอนพิษสุนัขกัด (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)

 
   

      .................................................................................................................................................

www.rspg.thaigov.net