แนวทางการดำเนินกิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร

1. อพ.สธ. เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริในการจัดการ
ประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. ทุกๆ 2 ปี โดยมีการร่วมจัดแสดงนิทรรศการ
กับหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริทุกหน่วยงาน และการจัดการประชุมวิชาการ
และนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค

2. อพ.สธ. สนับสนุนให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยของเจ้าหน้าที่และนักวิจัย อพ.สธ.
รวมถึงงานของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ในงานประชุมวิชาการต่างๆ
ระดับประเทศและต่างประเทศ และให้มีการขออนุญาตในการนำเสนอผลงานทุกครั้ง

3. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และผู้มีจิตศรัทธาสนับสนุนเงินทุนให้ อพ.สธ. (โดยการ
ทูลเกล้าฯถวาย โดยผ่านทางมูลนิธิ อพ.สธ. เพื่อใช้ในกิจกรรม อพ.สธ.)

4. ชมรมนักชีววิทยา อพ.สธ. และชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ. ดำเนินงาน
สนับสนุนงานในกิจกรรมที่ 1-7 โดยที่ อพ.สธ. สนับสนุนให้มีผู้สมัครเป็นสมาชิกชมรมฯ
ตามเงื่อนไขของชมรมฯ

5. หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ สามารถดำเนินการฝึกอบรมในการสร้างจิตสำนึก
ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากรต่างๆ เพื่อสนองพระราชดำริตามแผนแม่บท อพ.สธ. โดยอาจมีการฝึกอบรมตามสถานที่ของหน่วยงานเอง หรือ ขอใช้สถานที่ของ อพ.สธ. ร่วมกับ
วิทยากรของ อพ.สธ. หรือเป็นวิทยากรของหน่วยงานเอง แต่ผ่านการวางแผนและเห็นชอบจาก
อพ.สธ. และอบรมให้กับเครือข่าย อพ.สธ. เช่น สมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และสมาชิก
งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น

6. การทำหลักสูตร ท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามแผนแม่บทของ อพ.สธ.

7. การเผยแพร่โดยสื่อต่างๆ เช่น การทำหนังสือ วีดีทัศน์ เอกสารเผยแพร่ เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์
ที่ได้รับความเห็นชอบจาก อพ.สธ. เพื่อสนับสนุนงานกิจกรรมต่างๆ ของ อพ.สธ. สามารถใช้
สัญลักษณ์ของ อพ.สธ. ได้เมื่อได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจาก อพ.สธ.


8. การจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการต่างๆ ของหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ ในส่วนที่
เผยแพร่งานของ อพ.สธ. และได้รับความเห็นชอบจาก อพ.สธ.

9. หน่วยงานเอกชนหรือบุคคลทั่วไป สมัครเป็นอาสาสมัครในการร่วมงานกับ อพ.สธ.

10. การดำเนินงานอื่นๆ เพื่อเป็นการสนับสนุนงานตามกรอบแผนแม่บทของ อพ.สธ.

11. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมัครเข้ามางานฐานทรัพยากรท้องถิ่น

งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง สามารถสนองพระราชดำริ
โดยการสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกและดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นโดยตรงกับ อพ.สธ.
โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น อพ.สธ.-ตำบลที่ร่วม
สนองพระราชดำริ มีการจัดทำแผนแม่บทและนำไปสู่การประเมินเพื่อรับการประเมิน
รับป้ายพระราชทานในการสนองพระราชดำริในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น

ประโยชน์จากการเป็นสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น
1. สนับสนุนงานปกติที่องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
ที่ต้องทราบในเรื่องข้อมูลทางกายภาพ ข้อมูลชีวภาพ เศรษฐกิจสังคม ศักยภาพชุมชน
และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำภูมิปัญญานั้นไปพัฒนาต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ที่ทำให้เป็นมาตรฐานสากล

2. สนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ทำงานร่วมกับสถานศึกษา
ที่อยู่ในพื้นที่ประสานกับชุมชนและโรงเรียน ร่วมกันสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
เพราะสถานศึกษามีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ.2551 ซึ่งบ่งชี้ว่าในสาระ
วิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้องทราบในเรื่องทรัพยากรในท้องถิ่นและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น

3. องค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล ได้ขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่นตามรูปแบบ
การทำทะเบียนทรัพยากรต่างๆ ของ อพ.สธ. ให้กับท้องถิ่นของตนเอง เพื่อนำไปสู่การ
ยืนยันสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากร เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์
จากการใช้ทรัพยากรนั้นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ตามพิธีสารนาโงย่า (Nagoya protocol)

 
      
 
 
 

 l โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ l กิจกรรมโครงการ l สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน l ข้อมูลพรรณไม้ l เอกสารโครงการ l โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ l

 l Home l Webboard l RSPG e-Mail l Web Links l สำนักงาน อพ.สธ l ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ I สารพรรณพฤกษ์ Iห้องสมุด อพ.สธ. I

 

สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
โทร. ๐-๒๒๘๒-๑๘๕๐, ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕
E-mail : admin@plantgenetics-rspg.org

 
 
 
 

สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร