PAGE TITLE
 
 
 
กลับหน้าหลัก
บทนำ
การพัฒนาชนบท
การพัฒนาการเกษตร
การพัฒนาแหล่งน้ำ
การพัฒนาและอนุรักษ์ดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
การพัฒนาชาวเขา
โครงการธนาคารข้าว
โครงการธนาคารโค-กระบือ
โครงการฝนหลวง
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพ
โครงการศิลปาชีพพิเศษ
กังหันน้ำชัยพัฒนา


                           หน้า   1    2    3  
 

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (ต่อ)

 
 

          แต่ในสภาพข้อเท็จจริงจากการสำรวจพื้นที่ป้าไม้ของประเทศไทย โดยภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2504 เปรียบเทียบกับการสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม LANDSAT  ปี พ.ศ. 2525 ปรากฏว่าเนื้อที่ป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบันลดลงอยู่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่เหมาะสมต่อการักษาสมดุลธรรมชาตินัก โดยลดลงจาก 171 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53 ของเนื้อที่ทั้งประเทศในปี พ.ศ.2504 เหลือเพียง 98 ล้านไร่ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 30 ของเนื้อที่ทั้งประเทศในปี พ.ศ.2525 ซึ่งแสดงว่าภายในระยะเวลาเพียง 21 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่ป่าไม้ได้ลดลงถึง 73 ล้านไร่ หรือคิดเป็นอัตราลดลงโดยเฉลี่ย 3.5 ล้านไร่ต่อปี และในระหว่างปี พ.ศ.2525 -2528 มีการบุกรุกทำลายป่า  4.7 ล้านไร่  อัตรา

 
 

เฉลี่ย 1.5 ล้านไร่ต่อปี โดยพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน  และภาคตะวันออกของประเทศ พื้นที่ที่ถูกบุกรุกซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการจับจองไว้เพื่อการทำไร่เลื่อนลอย การทำไร่ถาวร เพราะการทำไร่นั้นเป็นการตัดต้นไม้ทุกขนาดในพื้นที่ลงจนหมดสิ้น แล้วทำการเก็บริบสุมเผาให้เป็นเถ้าถ่าน เมื่อฝนตกน้ำฝนจะไหลบ่าชะหน้าดินซึ่งอุดมสมบูรณ์ลงมายังที่ราบลุ่มเป็นเหตุให้แม่น้ำลำธารตื้นเขิน และนำไปสู่การกัดเซาะดินเป็นการทำลายความสมดุลทางนิเวศวิทยา ทั้งยังทำให้ชาวไร่ต้องเพิ่มอัตราการใช้ปุ๋ยเพราะหน้าดินถูกชะล้าง จนขาดความสมบูรณ์ ตะกอนซึ่งเกิดจากการกัดเซาะทำให้อายุการใช้งานของเขื่อนต่างๆ ลดน้อยลงกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้เป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล อย่างที่ไม่สามารถนำรายได้จากพืชไร่มาเปรียบเทียบได้ ปัญหาการบุกทำลายป่าไม้นั้น  อาจสรุปได้ว่าเกิดจากความยากจน ความรู้เท่าไม่ถึงการของราษฎรและความต้องการที่ดินเพื่อปลูกพืชทางการเกษตร ในขณะที่การบุกรุกทำลายป่าไม้มีอัตราสูง แต่การส่งเสริมการปลูกป่าทดแทนป่าที่ถูกทำลายไปนั้น ดำเนินการได้ในสัดส่วนที่ต่ำกว่ามาก กล่าวคือ ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปี พ.ศ.2529 ปลูกป่าได้เพียง 3.54 ล้านไร่
     

 แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
         
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ หรือทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งใด ซึ่งควรที่จะแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้พสกนิกรมีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว ก็จะทรงพิจารณาหาทางช่วยเหลือโดยให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
          สำหรับพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พอที่จะสรุปแนวพระราชดำริได้ดังต่อไปนี้
          1.  แนวพระราชดำริในด้านการปลูกป่าทดแทน
          1.1  ปลูกป่าทดแทนพื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกแผ้วถาง และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม
          1.2  ปลูกป่าเนื่องจากพื้นที่ป่าตามบริเวณอ่างเก็บน้ำหรือเหนืออ่างเก็บน้ำไม่มีความชุ่มชื้นยาวนานพอ
          1.3  ปลูกป่าบนเขาสูง เนื่องจากสภาพป่าบนที่เขาสูงทรุดโทรม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อลุ่มน้ำตอนล่าง
          1.4  ปลูกป่าเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำและแหล่งน้ำให้มีน้ำสะอาดบริโภค
          1.5  ปลูกป่าเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ราษฎรในท้องที่นั้นๆ และเป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของการปลูกป่า
          1.6  ปลูกป่าเสริมธรรมชาติ เป็นการเพิ่มที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ป่า
         2.  แนวพระราชดำริในด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ (สัตว์ป่าและวนอุทยาน)
          2.1  ให้มีการสงวนพันธุ์สัตว์ป่าและเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางชนิดที่หายาก และกำลังจะสูญพันธุ์
          2.2  จัดให้ดำเนินการเกี่ยวกับสวนสัตว์เปิด เพื่อเป็นที่ให้ประชาชนได้เข้าไปเที่ยวชม พร้อมทั้งส่งเสริมให้ราษฎรทำการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเป็นอาชีพ
          3.  แนวพระราชดำริในด้านการจัดพื้นที่ทำกิน
          3.1  สร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดเล็กแล้ว จึงให้มีการขยายพื้นที่ทำกิน หรือจัดที่ดินทำกินให้ราษฎรทั้งชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นราบ
          3.2  จัดที่ทำกินให้ราษฎรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งสิ่งแวดล้อม บริเวณใกล้เคียง เช่น มีการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรม และการจัดน้ำบริโภค เป็นต้น
          3.3  ฝึกอาชีพให้ราษฎรสามารถช่วยตัวเองได้ และทำกินให้เป็นหลักแหล่ง เลิกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น
          3.4  จัดระเบียบหมู่บ้านในรูปสหกรณ์ พร้อมทั้งทำการพัฒนาหมู่บ้านในลักษณะโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง เพื่อให้สามารถควบคุมราษฎร ไม่ให้บุกรุกทำลายป่าและล่าสัตว์
          3.5  จำแนกสมรรถนะของที่ดินให้เหมาะสม ที่ดินที่สามารถทำประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมได้ ก็ให้ใช้ทำเกษตรกรรม และพื้นที่ใดที่ไม่สามารถทำเกษตรกรรมได้ ก็ให้มีการรักษาสภาพป่าไว้ โดยให้มีการปลูกป่าไม้ 3 ชนิด ได้แก่ ไม้สำหรับใช้สอย ไม้ผล และไม้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง
          4.  แนวพระราชดำริในด้านการพัฒนาวิจัยด้านป่าไม้
          4.1  ดำเนินการศึกษาวิจัยด้านป่าไม้  ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามสภาพท้องถิ่น
          4.2  ทำการศึกษาพัฒนาและวิจัยความสัมพันธ์ของป่าไม้กับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ป่าไม้/ประมง ในพื้นที่ป่าชายเลน การพัฒนาด้านชลประทานเกี่ยวกับป่าไม้ โดยการจ่ายน้ำตามแหล่งน้ำในช่วงฤดูร้อน (แล้ง) เพื่อให้มีความชุ่มชื้น และทำให้ป่าต้นน้ำลำธารมีความชุ่มชื้นสมบูรณ์ตลอดทั้งปี และปลูกไม้พื้นล่างเสริมเพื่อช่วยลดความรุนแรงของกระแสน้ำในฤดูฝน
          4.3  ศึกษาเกี่ยวกบการป้องกันไฟป่า โดยใช้ระบบเปียก (ความชื้น) เป็นต้น

                                                                                                                                                            อ่านหน้าต่อไป